รู้หรือไม่ ความฉลาดของเราถ่ายทอดมาจากคุณแม่
Posted On 22 April 2022
DNAcanvas Admin
•1 minute read
ใครหลาย ๆ คนคงเคยถูกทักว่า หน้าตา ความสูง สีผิว ลักษณะเส้นผม เหมือนคุณพ่อหรือคุณแม่ เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ เพราะลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้เป็นลักษณะที่ถูกถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมจากคุณพ่อและคุณแม่มาสู่ตัวเรา นอกจากลักษณะที่กล่าวมาแล้ว ความฉลาดยังสามารถส่งต่อทางพันธุกรรมจากคุณแม่มาสู่ลูกได้ด้วยเช่นเดียวกัน
จากงานวิจัยในปี 1984 ที่มหาวิทยาลัย Cambridge ที่ทดลองกับหนูในระยะตัวอ่อน โดยให้มีการผสมกันของยีนที่มาจากแม่อย่างเดียว และยีนที่มาจากพ่ออย่างเดียว พบว่า มีการพัฒนาของตัวอ่อนที่แตกต่างกัน แต่ตัวอ่อนดังกล่าวไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ จากผลดังกล่าวจึงทำให้พบว่ามียีนที่จะทำงานก็ต่อเมื่อได้รับการถ่ายทอดมาจากแม่และมีผลที่สำคัญต่อการพัฒนาการของตัวอ่อน ในขณะที่ยีนของพ่อมีผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและการสร้างรก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่ายีนที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อจะทำให้ตัวอ่อนมีพัฒนาการในส่วนของ hypothalamus, amygdala, preoptic area และ septum ในสมอง เรียกส่วนเหล่านี้ว่า limbic system ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมเรื่องการเอาชีวิตรอด เช่น การสืบพันธ์ การกินอาหาร และอารมณ์ต่าง ๆ ในขณะที่ยีนที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากแม่จะพัฒนาในส่วนของ cerebral cortex ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ ความจำ ภาษา
จากงานวิจัยดังกล่าวทำให้พบว่า ความฉลาดจะถูกถ่ายทอดมาจากยีนของแม่เนื่องจากยีนความฉลาดนี้อยู่ในโครโมโซม X ซึ่งพบได้ในเพศหญิงที่มีโครโมโซมเป็น XX ในขณะที่เพศชายมีโครโมโซมเป็น XY จึงทำให้เพศหญิงมีโอกาศการถ่ายทอดความฉลาดได้มากกว่า
นอกจากปัจจัยของพันธุกรรมแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความฉลาดและการรับรู้ของลูกได้ด้วยนั่นคือ การเลี้ยงดูของแม่ การเลี้ยงดูที่ดีของแม่ตอนที่ลูกยังอยู่ในวัยเด็ก จะทำให้เด็กมี hippocampal volume ในสมองในปริมาณที่สูงซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก ทำให้เด็กที่ความจำที่ดีและสามารถที่จะควบคุมความเครียดได้
แม้ว่าปัจจัยทางพันธุกรรมจะเป็นปัจจัยหลักในการเติบโตของเด็กแต่การเลี้ยงดูก็เป็นปัจจัยทีสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นเราจึงต้องเลี้ยงดูเด็กด้วยความรักและความเข้าใจ
แหล่งที่มา
Luby, J. L. et. Al. (2012) Maternal support in early childhood predicts larger hippocampal volumes at school age. Journal of Proceedings of the National Academy of Sciences; 109(8): 2854–2859.
Keverne, E. B.; Surani, M. A. et. Al. (2004) Coadaptation in mother and infant regulated by a paternally expressed imprinted gene. Proc Biol Sci.; 271(1545): 1303–1309.
Keverne, E. B.; Surani, M. A. et. Al. (1996) Genomic imprinting and the differential roles of parental genomes in brain development. Brain Res Dev Brain Res; 92(1): 91-100.
McGrath, J. & Solter, D. (1984) Completion of mouse embryogenesis requires both the maternal and paternal genomes. Cell; 37(1): 179-183.
Barton, S. C.; Surani, M. A. & Norris, M. L. (1984) Role of paternal and maternal genomes in mouse development. Nature; 311:374-376.
Lehrke R. (1972) A theory of X-linkage of major intellectual traits. Am J Ment Defic; 76: 611-619.
SHARE