ติดกินหวาน ใส่น้ำตาลเพิ่มอีก เป็นเพราะอะไร – DNA ให้คำตอบกับเราได้
Posted On 23 March 2022
DNAcanvas Admin
•1 minute read
ทำไมเพื่อนหรือตัวเราเองชอบกินอาหารที่มีรสหวาน สั่งชานมไข่มุกต้องสั่งหวานตลอด ไม่หวานไม่กิน และบางครั้งอาจสั่งความหวานเพิ่มไปมากกว่าเดิม ปัญหานี้ DNA และสรีรวิทยาในร่างกายเราสามารถให้คำตอบนั้นได้
โดยปกติเมื่อเรากินน้ำตาลหรือแป้ง ร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมนโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้เรารู้สึกยินดี มีความสุข สมองของเราจะจดจำการกระตุ้นของสารเหล่านี้ไว้ ในการกินครั้งต่อไป เมื่อเรากินน้ำตาลเท่าเดิม สมองอาจจะไม่ถูกกระตุ้นเท่ากับครั้งก่อนหน้าได้ ทำให้เราต้องกินน้ำตาลในปริมาณที่มากกว่าเดิมเพื่อให้เราได้รับรู้ถึงความรู้สึกยินดีเท่ากับครั้งที่แล้ว ทำให้เราอาจติดกินหวานได้
แต่ร่างกายเรามีความพิเศษที่ทำให้เราหยุดกินหวานได้ สิ่งนั้นคือยีน FGF21 ที่จะสร้างฮอร์โมนที่ทำให้เรามีความต้องการกินน้ำตาลที่น้อยลงเมื่อกินไปได้ถึงระดับหนึ่งแล้ว จากงานวิจัยของ Susanna Søberg และคณะในปี 2017 พบว่าคนที่ยีน FGF21 แตกต่างไปจากปกติจะทำให้มีความต้องการในการกินน้ำตาลที่มากขึ้นซึ่งมีความสอดคล้องกับการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
นอกจากยีน FGF21 แล้วยังมียีน SLCa2 ที่เกี่ยวข้องกับการกินติดหวานด้วย ยีน SLCa2 จะสร้างโปรตีน GLUT2 ขึ้นมา ซึ่งโปรตีนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณการกินอาหาร จากงานวิจัยของ Karen M. Eny และคณะในปี 2008 พบว่าคนที่มี Isoleucine ในตำแหน่งที่ 110 ของโปรตีน GLUT2 จะกินน้ำตาลมากกว่าคนปกติที่มี Threonine ในตำแหน่งเดียวกันอยู่ประมาณ 15-25 กรัมต่อวัน
ดังนั้นการตรวจสอบ DNA จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สามารถทำให้เรารู้ภาวะและความเป็นไปในร่างกายของเราเพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาแก้ปัญหาต่อไปได้
แหล่งที่มา
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1550413117302140
https://journals.physiology.org/doi/full/10.1152/physiolgenomics.00148.2007
https://www.usatoday.com/story/sponsor-story/bright-line-eating/2018/03/01/sugar-addiction/110965186/?fbclid=IwAR1HFpXLyj3a_ZzuNDXd1WvsprMWtj–gU9GVIe-xjrorKpTII3TFIASl-M
https://genetics.thetech.org/original_news/news90?fbclid=IwAR3TnFANb50GCm3Gngapj9-_9fUDYV64YQ7UlaOwMXGv1E-gwXYtW2hsERk
SHARE