ความเครียดของแม่ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงยีนของลูก
Posted On 28 April 2022
DNAcanvas Admin
•1 minute read
เป็นเวลากว่าทศวรรษที่เราได้ยินคำว่าเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว คำกล่าวนี้สามารถใช้วิทยาศาสตร์ในการอธิบายได้ ในขณะที่เรายังเป็นทารก ระบบประสาทของเรามีความยืดหยุ่นสูงมาก ทำให้สมองของเราสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรืออาจเกิดความเสียหายเกินกว่าจะแก้ได้ ซี่งผู้ปกครองเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีหรือแย่ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในช่วงระยะเวลาที่สำคัญนี้
มีงานวิจัยจำนวนมากกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอด (maternal depression) กับปัญหาสุขภาพจิตของทารก รวมไปถึงปัญหาคู่ชีวิตและการทะเลาะกันของผู้ปกครอง จะสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับทารก และอาจส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์และการสร้างความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนรอบข้างในวัยผู้ใหญ่
จากงานวิจัยในปี 2004 ที่มหาวิทยาลัย McGiil พบว่าความเครียดสามารถส่งผลให้ดีเอ็นเอได้รับความเสียหาย จากการทดลองในหนู เมื่อลูกหนูถูกเลี้ยงดูโดยแม่หนู (การเลีย การทำความสะอาด และ arched-back nursing) ทำให้ลูกหนูมีการแสดงออกของยีนที่พัฒนาความสามารถในการทนต่อความเครียดและปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ในขณะที่หนูอีกกลุ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงในด้าน histone acetylation, DNA methylation, NGFI-A binding, GR expression และ hypothalamic-pituitary-adrenal (HPA)
จากงานวิจัยในปี 2009 ที่ Douglas Mental Health University Institute พบว่าเด็กที่ผู้ปกครองไม่ดูแลและถูกทำร้าย จะทำให้ glucocorticoid receptor mRNA (GR expression) และ NGFI-A binding มีระดับลดลง รวมไปถึงมี DNA methylation ที่ NR3C1 promoter ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับผู้ป่วยที่ถูกทำร้ายจนฆ่าตัวตาย
สอดคล้องกับจากงานวิจัยในปี 2014 ของ Marilyn J. Essex จาก University of Wisconsin School of Medicine and Public Health พบว่าความเครียดของผู้ปกครองส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเจเนติกของเด็ก
เนื่องจากระบบประสาทในสมองของเรามีความยืดหยุ่นสูง แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในการแสดงออกของยีน แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กเหล่านี้จะไม่สามารถจัดการกับความเครียดต่าง ๆ ได้ เด็กเหล่านี้จะสามารถจัดการกับความเครียดได้แต่จะยากกว่าเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเก็บขึ้นกับลูก ๆ ของเรา เราควรเลี้ยงลูกด้วยความรักและความเข้าใจ
แหล่งอ้างอิง
Essex, M. J. et. Al. (2013) Epigenetic Vestiges of Early Developmental Adversity: Childhood Stress Exposure and DNA Methylation in Adolescence. Child Development; 84(1): 58-75.
McGowan, P. O. et. Al. (2009) Epigenetic regulation of the glucocorticoid receptor in human brain associates with childhood abuse. Nature Neuroscience; 12: 342-348.
Oberlander, T. F. et. Al. (2008) Prenatal exposure to maternal depression, neonatal methylation of human glucocorticoid receptor gene (NR3C1) and infant cortisol stress responses. Epigenetics; 3(2): 97-106.
Preston, S. L. & Scaramella, L. V. (2006) Implications of timing of maternal depressive symptoms for early cognitive and language development. Clin Child Fam Psychol Rev; 9(1): 65-83.
Weaver, I. C. (2004) Epigenetic programming by maternal behavior. Nature Neuroscience; 7(8): 847-854.
SHARE