กินจุ๊บ กินจิ๊บ กินจุ๊บจิ๊บ กินบ่อยขนาดนี้ กินระหว่างวันไม่มีหยุด เป็นเพราะอะไรกันนะ
Posted On 23 March 2022
DNAcanvas Admin
•1 minute read
เบื่อไหมกับการที่เรากินไม่หยุด กินขนมทานเล่นระหว่างวันจนทำให้กินอาหารหลักไม่ตรงมื้อ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องน้ำหนักหรือปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ตามมาภายหลัง การแก้ปัญหานี้เริ่มต้นจากความรู้และความเข้าใจการกินจุบจิบระหว่างมื้อ หรือที่เรียกว่า Snacking
มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกันและเกิดขึ้นได้ทั่วไปเมื่อคนเรามีความหิว ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการจิบจุบ เช่น การกินขนมระหว่างการเล่นดูหนังหรือเล่นเกม แม้แต่สถานที่หรือผู้คนก็ส่งผลต่อการกินจุบจิบของเราเช่นกัน
ปัจจัยภายในร่างกายที่ส่งผลต่อการกินจุบจิบคือ DNA โดยปกติในร่างกายมนุษย์จะมียีน LEPR ซึ่งเป็นยีนที่รับและตอบสนองต่อฮอร์โมนที่ควบคุมความอิ่ม โดยร่างกายจะส่งสัญญาณไปที่ Leptin receptor เพื่อบอกให้หยุดกิน ในทางกลับกันหาก receptor ตัวดังกล่าวไม่ถูกใช้งานทำให้ร่างกายมีการตอบสนองโดยการกินอาหารอย่างต่อเนื่องนั่นเอง ในบางคนที่มีความแตกต่างในยีน LEPR จะทำให้มีการกินอาหารจุบจิบที่มากขึ้น จากงานวิจัยของ Krom และคณะในปี 2007 พบว่ากลุ่มคนที่มีนิวคลีโอไทด์ rs2025804 จะมีโอกาสมีพฤติกรรมการกินจุบจิบ เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วนและมี BMI ที่มากกว่าคนปกติ
ที่จริงแล้ว นิสัยการกินจุบจิบก็ไม่ได้จะส่งผลที่แย่ไปซะทีเดียว การแบ่งอาหารเป็นระหว่างมื้อย่อยๆ แม้ว่าคุณจะมีพฤติกรรมการกินจุบจิบก็อาจจะเป็นผลดีต่อร่างกายได้ เพียงแค่คุณเลือกอาหารที่ดี มีประโยชน์ เมื่อเรารู้แล้วว่าคนเรามีการกินจุบจิบอยู่ตลอดวัน ดังนั้นเราเวลาเราหิวระหว่างวันควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อทำให้สุขภาพของเราแข็งแรงยิ่งขึ้น เช่น ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช หรือเราอาจหาอาหารจากแหล่งโปรตีนและไฟเบอร์อื่น ๆ แทนแป้งเพื่อลดความหิวระหว่างมื้ออาหารได้
แหล่งที่มา
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19153581/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17192493/
https://diabetes.diabetesjournals.org/content/56/1/276.long
SHARE